โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 98 – อวสาน (1)

เราได้เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด (Epilogue) ของการพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดี เราได้นำเสนอข้อมูลสถิติ, ตัวเลข, และข้อเท็จจริง (Fact) มากมาย เจือด้วย (Mixed) ความคิดเห็นเชิงวิชาชีพ (Professional opinion) เพื่อแสดงให้เห็นว่า เพียงแค่ประยุกต์ใช้กฎเกณฑ์ง่ายๆ (Easy-to-apply) 8 ข้อ เราก็สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากให้แก่การดูแลสุขภาพโดยรวมได้

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ใช่แนวคิดที่ปฏิวัติวงการ (Revolutionary) และไม่ได้ครอบคลุม (Encompass) ทุกด้านของสุขภาพ  อันที่จริง เป็นที่ชัดเจนว่ามีขั้นตอนอื่นๆ มากมาย (Extensive) ที่สามารถทำเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นได้ แต่การประยุกต์ใช้ได้ (Applicability) อาจไม่เป็นจริง (Realistic) กับวิถีชีวิตของคนส่วนมากในสังคมปัจจุบัน

ตัวอย่างเช่น เราทุกคนอาจอยากมีการนอนที่สม่ำเสมอ (Consistent) และไม่มีสิ่งรบกวน (Uninterrupted) หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ (Location) ที่มีมลพิษ (Pollution) น้อย (Minimal) หรือไม่มีเลย แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่เป็นไปได้เสมอไป บางคนอาจไม่มีทางเลือก (Choice) ในการอยู่อาศัยใกล้ถนนใหญ่ (Roadway) หรือเส้นทาง (Path) การบินของเครื่องบิน (Airplane flight)

เราอาจดื่มน้ำไม่ได้ 8 แก้วในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ คุณภาพ (Quality) อากาศภายในบ้านอาจเป็นประเด็น (Issue) เช่น ช่องระบายอากาศ (Air vent) ที่มีฝุ่น (Dusty) หรือไม่มีการกรองอากาศ (Filter) จนเกิดเชื้อรา (Mold) และบางคนอาจได้รับแสงแดด (Exposure to sunlight) ไม่เพียงพอ ขณะที่คนอื่นๆ ได้รับแสงแดดมากเกินไปโดยไม่มีการป้องกัน (Protection) ที่เหมาะสม ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและความเครียด (Stress) สูงเป็นความจริง (Reality) ของหลายๆ คน

อย่างไรก็ตาม มีตัวแปร (Variable) ที่ส่งผลต่อสุขภาพมากมายที่เราไม่สามารถควบคุม (Control) ได้ แต่การมีรายการสั้นๆ ที่จัดการได้ (Manageable) ย่อมดีกว่า การจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ของรายการดังกล่าวเพื่อให้มีผลกระทบ (Impactful) สาเหตุที่สำคัญ (Underlying) ที่สุดของโรคที่ก่อให้เกิดภาระ (Burden) หนักต่อเรา เป็นวิธีที่ดีในการทำให้ความพยายาม (Effort) ของเรามีผลมากที่สุด นี่คือเหตุผลของขั้นตอนง่ายๆ 8 ข้อที่ได้กล่าวมา

การนำเสนอที่ผ่านมาใน 97 ตอนที่ผ่านมา ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน (Section) ส่วนแรกเน้นที่พฤติกรรม (Behavior) และการตัดสินใจ (Decision-making) ที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเอง และส่วนที่ 2 นำเสนอการกระทำ (Action) ที่ต้องอาศัย (Require) คำแนะนำ (Guidance) ของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (Medical professional) บทสรุปนี้ได้จัดลำดับใหม่ โดยเน้น (Emphasize) ผลกระทบโดยรวมต่อสุขภาพ

  1. อย่าสูบสิ่งเสพติด

การสูบบุหรี่ (Cigarette) ไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย ตามที่เราได้เห็นแล้ว มันเป็นนิสัยที่เป็นพิษ (Toxic habit) และคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่าพฤติกรรมอื่นๆ การสูบบุหรี่ในปริมาณใดๆ ก็ตาม ล้วนไม่ปลอดภัย

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.